จากสถิติจำนวนรถยนต์ทีจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 40,281,902 คัน เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 9,766,369 คัน รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 21,075,340 คัน ซึ่งไม่แปลกถ้าเราจะคิดทำประกันภัย เพื่อปกป้องทรัพย์สินของเรา จากอุบัติเหตุ
           ซึ่งในความเป็นจริง ทุกวันนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ ประกันภัยคุัมครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรารู้จักกันทั่วๆไปก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์ นั่นเอง 


           พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครอง ทุกคน ที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ , ผู้โดยสาร หรือ คนเดินถนน โดยจะรับผิดชอบ จ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ ดู ภาพ-01



ภาพ-01
           จะขออธิบายการเกิดเหตุและการชดใช้ค่าเสียหายดังนี้ค่ะ  
ภาพ-02
ภาพ-03

ภาพ-04


             จากตัวอย่างอุบัติเหตุ ตาม ภาพ-02 มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 3 คน มีค่ารักษาพยาบาล คนที่ 1 95,000 บาท คนที่ 2 70,000 บาท และคนที่ 3 120,000 บาท รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 285,000 บาท และมีค่าซ่อมรถคันสีชมพู อีก 80,000 บาท
            ในส่วนประกันภัย พ.ร.บ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สูงสุดคนละ 80,000 บาท รวมจ่าย 3 คน จะเป็นเงิน 80,000+70,000+80,000 = 230,000 บาท  แต่สำหรับ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าซ่อมรถคันสีชมพู 80,000 บาทจึงไม่ได้รับการชดใช้ ดังนั้น จะมีค่าเสียหายส่วนที่เหลือ เท่ากับ 80,000 + 55,000 = 135,000 บาท  (ว๊าย!!! ใครจะจ่ายให้หล่ะ)
            ในกรณีที่มีความเสียหายที่กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง หรือมีค่าเสียหายที่เกินกว่าวงเงินที่กรมธรรม์ได้กำหนดไว้ ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายส่วนที่เหลือ ดังนั้น ในกรณีนี้ เจ้าของรถคันสีฟ้า ต้องรับผิดชอบจ่ายเงิน 135,000 บาท

            ดังนั้นการทำประกันเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยป้องกันความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และเป็นที่มาของ “การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ”

            การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายถึง การทำประกันภัยโดยความสมัครใจของเจ้าของรถ ซึ่งมีความคุ้มครองมากกว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เช่น คุ้มครองความเสียหายของรถคันเอาประกันภัย, คุ้มครองร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก, คุ้มครองผู้ขับขี่ (พ.ร.บ. รถยนต์ ผู้ขับขี่รถที่เป็นฝ่ายผิด จะเบิกค่าสินไหม ได้แค่ ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท คือ บาดเจ็บไม่เกิน 30,000 บาท เสียชีวิต ไม่เกิน 35,000 บาท)

ประกันภาคสมัครใจมีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่
           1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 (Comprehensive)
           กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
             1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
             1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
             1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
             1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

            2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)
            กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
             2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
             2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
             2.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

            3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)
            กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
             3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
             3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

            4. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)
            กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

            5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
            กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
                 แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
                        – คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
                        – คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
                        – คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
                        – คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
                 แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
                        – คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
                        – คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
                        – คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

                         ข้อจำกัดของ แบบประกัน 2+,3+ คือ ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และ ต้องมีคู่กรณี ถ้าหาก ชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง



ประกันภัยภาคสมัครใจ ที่ได้รับความนิยม









ดังนั้น จากอุบัติเหตุ ตามภาพ-04 ที่มีค่าเสียหายส่วนที่เหลือ 135,000 บาท ถ้า เจ้าของรถคันสีฟ้า ได้มีการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ไว้ ค่าเสียหายส่วนที่เหลือดังกล่าว สามารถนำมาเคลมได้ที่ กรมธรรม์ภาคสมัครใจ